วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

😇# ~ อย่าละทิ้งความชอบธรรมของคุณ ~

 See >>>

https://www.facebook.com/100003924471959/posts/2196068087200652/

# ~  อย่าละทิ้งความชอบธรรมของคุณ ~ 

# สุนทรพจน์ที่น่าทึ่งของ Dr. Julie Ponesse 

# ศาสตราจารย์ด้านจริยธรรมและการส่งเสริมเสรีภาพของพลเมือง


********************************************************************** 


เรามีสิทธิในการกำหนดว่าจะทำอะไรหรือไม่ควรทำกับร่างกายของตนเอง 

รวมทั้งสิทธิการรักษาพยาบาลอย่างไม่มีเงื่อนไข อันเป็นสิทธิที่หยั่งรากลึกในกฎหมายทั่วไปของเรา


อีกทั้งพื้นฐานของประมวลกฎหมายนูเรมเบิร์ก ที่ให้คำมั่นสัญญาต่อมนุษยชาติว่า เราจะไม่รับรองการตัดสินใจทางการแพทย์ใดๆที่ยังไม่ได้รับข้อมูลเพียงพอจากความไม่สมัครใจ หรือแม้กระทั่งทำเพื่อความดีหรือประโยชน์สาธารณะใดๆก็ตาม


คำสั่งวรรคซีนเป็นกลยุทธ์การสร้างภูมิคุ้มกันที่บีบบังคับ เช่น การคุกคามจนต้องสูญเสียงานหากผู้คนจะไม่ยินยอมหรือทำตามคำสั่ง หรือยกเลิกการมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจและในชีวิตสาธารณะ เหตุผลของพวกเขาคือ "เราอยู่ในการระบาดใหญ่" และด้วยเหตุนี้ คุณจึงต้องละทิ้งเอกราชเหนือร่างกายของเราเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะ


ข้อบังคับด้านวัคซีนจะต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่สูงมาก 


ตัวอย่างเช่น โควิด-19 จะต้องเป็นเชื้อก่อโรคที่มีความรุนแรงสูง ซึ่งไม่มีการรักษาอื่นใดที่เพียงพอ และวัคซีนจะต้องมีประสิทธิภาพที่พิสูจน์ได้อย่างแท้จริงว่าปลอดภัย ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันไม่ตรงตามเกณฑ์เหล่านี้


ลองพิจารณาข้อเท็จจริงเหล่านี้:


1. โควิด-19 มีอัตราการเสียชีวิตจากการติดเชื้อไม่ถึง 1% ของไข้ทรพิษ (และมีความเสี่ยงต่อเด็กน้อยกว่าด้วย)


2) มียารักษาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงจำนวนหนึ่งที่ป้องกันรักษาได้หลายชนิดและเสริมสร้างภูมิคุ้มก้นของร่างกาย


3) วรรคซีน mRAN มีรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (รวมถึงการเสียชีวิตนับไม่ถ้วน) มากกว่าวัคซีนอื่นๆในตลาดในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา


จากข้อเท็จจริงเหล่านี้ จึงมีคำถามมากมาย:


ทำไมจึงต้องมีหนังสือเดินทางสำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีน เพื่อการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะ ในเมื่อผู้อำนวยการสาธารณะสุขระบุว่าวัคซีน COVID-19 ไม่สามารถป้องกันการแพร่เชื้อได้?


เหตุใดการฉีดวัคซีนจึงเป็นกลยุทธ์ในการลดผลกระทบเพียงอย่างเดียว เมื่อหลักฐานที่เกิดขึ้น (รวมถึงการศึกษาล่าสุดของ Harvard) แสดงให้เห็นว่าไม่มีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนในเรื่องภูมิคุ้มกันหมู่ และอัตราการฉีดวัคซีนที่เพิ่มขึ้นกับผู้ป่วยรายใหม่ที่ฉีดวัคซีนแล้ว


ทำไมเราถึงต้องฉีดวัคซีนเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ในเมื่อเชื้อโควิดก่อให้เกิดความเสี่ยงน้อยกว่าปฏิกิริยาของวัคซีนที่อาจเกิดขึ้น ในขณะที่ยังไม่มีระบบตรวจสอบวัคซีนว่ามีประสิทธิภาพพอหรือไม่?


เหตุใดรัฐบาลจึงยังคงระงับการใช้"ไอเวอร์เม็กติน "เป็นการรักษาที่แนะนำ เมื่อสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาสนับสนุน และเมื่อรัฐอุตตรประเทศในอินเดียแจกจ่ายยาให้ประชาชน 230 ล้านคน ทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโควิด-19 ลดลงเหลือเกือบเป็นศูนย์ อินเดียแซงหน้าแคนาดาในด้านการดูแลสุขภาพได้อย่างไร?


เหตุใดเราจึงมุ่งความสนใจไปที่ผลประโยชน์ของภูมิคุ้มกันในวงแคบๆที่เกิดจากวัคซีน ในเมื่อการศึกษาในโลกแห่งความเป็นจริงแสดงให้เห็นว่าภูมิคุ้มกันตามธรรมชาตินั้นสามารถป้องกันได้ดีกว่า มีศักยภาพมากกว่าและคงทนยาวนานกว่า 


ทำไม"ผู้ที่ได้รับการคุ้มครอง" จำเป็นต้องได้รับการปกป้องจาก "ผู้ที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง" โดยบังคับให้ "ผู้ที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง" ปกป้อง "ผู้ที่ได้รับการคุ้มครอง"(ทั้งที่จริงๆแล้ววรรคซีนควรจะเป็นผู้ปกป้องพวกเขาถึงจะถูก)


และเกิดอะไรขึ้นกับความเป็นผู้นำประเทศของเรา

ที่พยายามใช้แคมเปญนโยบายสาธารณะแบบ"แบ่งแยก" 

รัฐบาลกำลังสนับสนุนให้เราสร้างความแตกแยกและแสดงความเกลียดชังมากขึ้นทุกวัน


ทุกวันนี้ ผู้ที่ได้รับวัคซีนดูเหมือนจะได้รับสิทธิพิเศษทั้งหมดในสังคมอารยะ เสรีภาพในการเคลื่อนไหว การเข้าถึงการศึกษา การเข้ารับการรักษาพยาบาล การอนุมัติการฉีดวัคซีนของรัฐบาล กลายเป็นตั๋วสำหรับการคืนสิทธิ์ในการเข้าร่วมในสังคมแบบมีเงื่อนไข


เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับพวกเสรีนิยมหรือนักต่อต้านแว็กซ์ แต่ทุกคนควรใส่ใจกับความจริง ทุกคนควรใส่ใจเกี่ยวกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และประชาธิปไตย และทุกคนควรใส่ใจซึ่งกันและกัน


เพราะเราเป็นเหยื่อจากการระบาดใหญ่และการปฏิบัติตาม

แต่การปฏิบัติตามนั้นหากไม่มีคุณธรรมและไม่เป็นกลาง มันจะเป็นอันตรายอย่างแน่นอน หากไม่มีการเปิดให้แลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเสรี ซึ่งหากปราศจากกระบวนการนั้น เราก็จะตกอยู่ในสงครามแห่งศีลธรรม


พวกเราทำอะไรได้บ้าง?


เราควรออกมาเรียกร้องแม้ไม่ใช่เพื่อผลลัพธ์ แต่เพื่อให้กระบวนการนี้ได้รับการสถาปนาขึ้นใหม่ เพราะมันเป็นสิทธิของแต่ละบุคคลที่จะควรต้องคิดและวิเคราะห์ด้วยตนเอง...


Dr. Julie Ponesse


GESARA Golden Age >Thailand

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น