See >>>
https://www.facebook.com/100065357317755/posts/296858245836084/
What is CBDC?
บาทดิจิทัล CBDC คืออะไร สรุปชัดๆ ให้เข้าใจ
เงินดิจิทัลเริ่มถูกยอมรับมากขึ้นทั่วโลก และสิ่งที่กำลังน่าสนใจอย่างมากในช่วงนี้ก็คือการที่หลายประเทศหันมาพัฒนา "สกุลเงินดิจิทัลแห่งชาติ" หรือ CBDC เป็นของตัวเอง
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็เป็นหนึ่งในนั้นกับแผนทดลองใช้ ‘บาทดิจิทัล’ สำหรับประชาชนภายในไตรมาส 2 ปีหน้า มาถึงตรงนี้ใครที่เริ่มสงสัยว่า CBDC และบาทดิจิทัลคืออะไร? เกี่ยวยังไงกับเรา FinSpace สรุปมาให้แล้ว
1. เข้าใจกันก่อน CBDC คืออะไร?
CBDC ย่อมาจาก Central Bank Digital Currency คือ สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางของประเทศนั้นๆ ซึ่งจะคล้ายสกุลเงินที่เราใช้ทุกวัน เช่น ดอลลาร์ ยูโร หยวน หรือบาท แต่เปลี่ยนจากเงินกระดาษ สู่เงินในรูปแบบดิจิทัลบนเทคโนโลยี Blockchain
2. CBDC มีแล้วดียังไง?
ข้อดีของ CBDC จะช่วยลดต้นทุนของระบบชำระเงินในปัจจุบันที่เข้าถึงยาก และต้องผ่านตัวกลางคือธนาคารพาณิชย์ แต่ถ้าแบงก์ชาติเข้ามาพัฒนาระบบตรงนี้เอง ก็จะช่วยลดการผูกขาดจากเอกชน ปกป้องเสถียรภาพทางการเงินของประเทศด้วย
3. CBDC กับ Cryptocurrency เหมือนหรือต่างกันไหม?
คำตอบคือไม่เหมือนกัน เพราะ Crypto ทั้ง Bitcoin Ethereum Dogecoin เป็นระบบการเงินแบบไร้ตัวกลาง ไม่มีผู้กำกับดูแล มูลค่าของเหรียญขึ้นลงตามดีมาน-ซัพพลาย ทำให้ผันผวนสูง คนจึงมักใช้ลงทุนเพื่อเก็งกำไรต่างกับคอนเซ็ปต์ของ CBDC เงินดิจิทัลที่มีธนาคารกลางควบคุม ด้วยการผูกมูลค่าไว้กับค่าเงินหรือสินทรัพย์ เพื่อลดความผันผวน เหมาะกับการใช้แลกเปลี่ยนได้จริง หรือที่เรียกกันว่า Stablecoin นั่นเอง
4. แล้ว Libra ที่เป็น Stablecoin ถือว่าเป็น CBDC ไหม?
Libra หรือชื่อใหม่ Diem ถือว่าเข้าข่าย Stablecoin เพราะมีการประกันมูลค่าจากเงินสดในสกุลต่างๆ แต่ไม่ใช่ CBDC เนื่องจากออกโดยเอกชนอย่าง Facebook ไม่ได้ถูกกำกับภายใต้กฎหมายชำระเงินของธนาคารกลางประเทศต่างๆ
5. ประเทศไหนที่เริ่มใช้ CBDCแล้วบ้าง?
หยวนดิจิทัล (DCEP) ของประเทศจีน คงเป็นชื่อที่คุ้นหูสุด เพราะเริ่มใช้จริงจังแล้วใน 4 เมืองเศรษฐกิจใหม่ คือ เสิ่นเจิ้น เฉิงตู ซูโจว และ เซียงอัน กับร้านค้าชื่อดัง อาทิ Starbucks,Subways และ McDonald’s
นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายประเทศเริ่มพัฒนา CBDC
ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นสวีเดน, แคนาดา, เกาหลีใต้, ฮ่องกง, สิงคโปร์, ญี่ปุ่น, กลุ่มประเทศยุโรป, แอฟริกาใต้ แม้กระทั่ง 'บาทดิจิทัล' ของประเทศไทยนั่นเอง
6. บาทดิจิทัลในไทยไปถึงขั้นไหนแล้ว?
ไทยเริ่มมีการใช้ CBDC มาตั้งแต่ปี 2561 แต่ใช้ในระดับสถาบันการเงิน (Wholesale CBDC) ในการโอนเงินล็อตใหญ่ระหว่างแบงก์ และทดลองโอนเงินข้ามประเทศร่วมกับธนาคารกลางฮ่องกง เพียงแต่ยังไม่เคยถูกนำมาใช้ในวงกว้างกับภาคประชาชน (Retail CBDC) เท่านั้นเอง
7. ประชาชนทั่วไปจะได้ใช้บาทดิจิทัลเมื่อไหร่?
คุณวชิรา อารมย์ดี ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดการเงิน ธปท. ระบุว่า CBDC ที่ใช้กับประชาชนทั่วไปจริงๆ คงต้องค่อยเป็นไปค่อยไป และเป็นแผนระยะยาว เพราะมีผลกระทบค่อนข้างมาก แต่ในไตรมาส 2 ปี 2022 จะเริ่มทดลองใช้บาทดิจิทัลในวงที่จำกัดทั้งพื้นที่และจำนวนผู้ใช้งาน
8. รูปแบบของบาทดิจิทัลจะเป็นอย่างไร?
เบื้องต้นนั้นจะมีรูปแบบคล้ายเงินสดและไม่จ่ายดอกเบี้ย อาศัยตัวกลาง อาทิ สถาบันการเงินในการแลกเปลี่ยนกับประชาชน ซึ่งจะมีเงื่อนไขหรือระยะเวลาสำหรับการแลกเปลี่ยนบาทดิจิทัลในจำนวน มากๆ ธปท. ประเมินว่าความต้องการใช้บาทดิจิทัลของประชาชนจะเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป และเข้ามาเป็นทางเลือกในการชำระเงิน โดยอาจถูกใช้ทดแทนเงินสดและ E-Money ได้บางส่วน
9. บาทดิจิทัล จะล้มธนาคารพาณิชย์จริงไหม?
เป็นประเด็นถกเถียงกันพอสมควรว่าเมื่อเราไม่จำเป็นต้องฝากถอนเงินสดอีกต่อไป แล้วบทบาทของธนาคารพาณิชย์จะเป็นอย่างไร? ถึงแม้ ธปท. จะยืนยันว่าการพัฒนา CBDC จะต้องไม่ไปสร้างอุปสรรคหรือเกิดความเสี่ยงต่อธนาคารพาณิชย์ก็ตาม
🤗😎🤨🌴🏖️👉
Cr.สำเริงนาเพชร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น