วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

😍จากผืนดินแห้งแล้งไร้น้ำเพราะยูเครนกลั่นแกล้ง วันนี้ไครเมียปลูกพืชได้แล้ว

 See >>>

https://www.facebook.com/100001757048699/posts/5177892622279255/

จากผืนดินแห้งแล้งไร้น้ำเพราะยูเครนกลั่นแกล้ง วันนี้ไครเมียปลูกพืชได้แล้ว

        


สาธารณรัฐไครเมีย เป็นดินแดนในสหพันธรัฐรัสเซีย ที่เมื่อก่อนเคยอยู่ภายใต้การปกครองของยูเครน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวสลาฟเชื้อสายรัสเซีย ทำให้ถูกกดขี่อย่างหนักจากรัฐบาลกลาง ทั้งปิดเขื่อนกั้นน้ำจืด ทั้งตัดไฟฟ้า จนเกิดวิกฤติขัดแย้งสงครามต่อสู้กันขึ้น มีชาวบ้านหนีเข้าไปในรัสเซียกว่า 143,000 คน 


ต่อมานายเซอร์ดี อักส์โยนอฟ ผู้นำไครเมีย ร้องขอความช่วยเหลือไปยังรัสเซีย ให้ช่วยรับรองสันติภาพและความสงบของไครเมีย ในปี 2014 ประชาชนลงประชามติกว่า 90% ไปขึ้นกับรัสเซีย และรัฐสภารัสเซียรับรองสถานะ

         

พื้นที่ไครเมียมีลักษณะเป็นพื้นราบยื่นไปในทะเลอยู่ในคาบสมุทรไครเมีย มีขนาดเล็กราว 27,000 ตารางกิโลเมตร  มีประชากร 2.15 ล้านคน ภายหลังมาอยู่ในปกครองรัสเซีย ก็พัฒนาที่นี่ขนานใหญ่ทุกด้านเจริญขึ้นมาก มีการสร้างสะพานขนาดมหึมาเชื่อมข้ามทะเลไปแผ่นดินรัสเซีย 


กลายเป็นพื้นที่ที่ขึ้นชื่อด้านแหล่งท่องเที่ยว เพราะสภาพอากาศที่พอเหมาะ ดังนั้นจึงมีรีสอร์ทริมทะเลหลายแห่ง ที่โด่งดังคือยัลตา มีฐานทัพของรัสเซียในเมืองเอกเซวาสโตโพล คอยปกป้องน่านน้ำ ท้องฟ้า และเป็นพื้นที่แบ่งทะเลอาชอฟ และทะเลดำ 

         

ในด้านการเกษตรนั้นไครเมียเป็นดินแดนเหมาะแก่การเพาะปลูกด้านการเกษตรรวมถึงการปลูกไวน์ ทั้งยังอุดมไปด้วยต้นยาสูบ แต่ปัญหาใหญ่คือ รัฐบาลยูเครน ได้แกล้งปิดเขื่อนกั้นน้ำจืดไม่ให้มีน้ำไหลไปยังไครเมีย ทำให้เกษตรกรไม่เคยมีน้ำเพาะปลูกมาตั้งแต่ปี 2014  


ภายหลังรัสเซียปลดปล่อยเมืองทางไต้ออกจากยูเครนแล้ว ทหารรัสเซียได้รับคำสั่งให้เปิดประตูเขื่อนน้ำจืดแม่น้ำดนิปาร์ให้ไหลไปตามท้ายแม่น้ำที่แห้งผากมาตลอด 8 ปี ส่งผลให้พื้นที่ไครเมียที่แห้วแล้ง เริ่มกลับมาอุดมสมบูรณ์ทำการเกษตรได้อีกครั้ง

       

เมื่อก่อนการปลูกข้าวที่นี่จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แต่ปัจจุบันนี้แค่ไม่ถึง 2 เดือน ในไครเมีย ข้าวถูกปลูกครั้งแรก ในพื้นที่เพาะปลูกขนาดเล็กราว 4,000 ไร่ ในเขตเทศบาล 3 แห่ง


ตอนนี้ข้าวกำลังหว่านเมล็ดและได้รับการดูแลเป็นพิเศษ การเก็บเกี่ยวครั้งแรกราว กันยายน 65 แต่จะไม่ส่งออกไปขาย จะใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ในฤดูถัดไป และรัฐบาลได้ส่งเสริมและวางแผนให้เกษตรกรเพิ่มปริมาณและขยายพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น


ในปี พ.ศ. 2523 ประธานาธิบดี วลาดิมีย์ ปูติน แห่งรัสเซีย ได้แรงบัลดาลใจสำคัญจากเมื่อคราวมาเยือนไทย จากนั้นมาเขาได้ขยายพื้นที่เพราะปลูกข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ จนรัสเซียกลายเป็นผู้ส่งออกอาหารขายเลี้ยงชาวโลกถึงราว 30% ในทุกวันนี้..


เกษตรกรไครเมีย กำลังพลิกผืนดินให้อุดมสมบูรณ์อิ่มอาหารจากวีระบุรุษชื่อ วลาดิมีย์ร์ ปูติน อีกครั้ง


ที่มา : Tass, Bectn pycnja 

#WorldUpdate


#Ttango17Q

Q9 May 2Q22

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น