See >>>
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10159078058946265&id=328782391264
#รู้ไหมว่า…#ปัจจุบันมีดาวเทียมโคจรรอบโลกกี่ดวง ?
.
ตลอดหลายปีที่ผ่านมาเรารับรู้มาโดยตลอดถึงการเพิ่มขึ้นของจำนวนดาวเทียมที่ถูกส่งขึ้นสู่ห้วงอวกาศเพื่อปฏิบัติภารกิจที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การพยากรณ์อากาศ สนับสนุนภารกิจด้านความมั่นคง ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลกด้วยดาวเทียม เพื่อบันทึกภาพพื้นผิวโลก ติดตามการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม และเพื่อการสื่อสาร เป็นต้น แต่ตัวเลขที่แน่นอนคือเท่าไรกันแน่ ?
.
ขณะที่ #การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบไปแทบจะทุกอุตสาหกรรม แต่อุตสาหกรรมอวกาศกลับเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยอ้างอิงจาก Union of Concerned Scientists (#UCS) พบว่า ณ วันที่ 1 มกราคม 2564 มีดาวเทียมโคจรรอบโลกจำนวน 6,542 ซึ่งแบ่งเป็นดาวเทียมที่อยู่ในสถานะใช้งานได้ปกติจำนวน 3,372 ดวง และอีก 3,170 ดวงเป็นดาวเทียมที่ปลดระวางกลายเป็นขยะอวกาศ
.
ในขณะเดียวกันเมื่อตรวจสอบจาก #ฐานข้อมูลออนไลน์วัตถุอวกาศที่ถูกส่งขึ้นสู่ห้วงอวกาศ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของ United Nations Office for Outer Space Affairs พบว่านับตั้งแต่มีการเก็บข้อมูลจนถึงวันที่ 30 เมษายน 2564 มีดาวเทียมที่ถูกส่งขึ้นไปแล้วจำนวน 11,139 ดวง ซึ่งปัจจุบันมีดาวเทียมที่ยังคงอยู่ในวงโคจรจำนวน 7,389 ดวง (เพิ่มขึ้น 27.97% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563) ส่วนที่เหลือบางส่วนถูกเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศหรือกลับสู่โลกในรูปแบบเศษซาก เช่น จรวดนำส่งดาวเทียมจีน Long March 5C ที่ตกสู่มหาสมุทรอินเดีย เป็นต้น
.
ในปี 2563 ที่ผ่านมา มีดาวเทียมจำนวน 1,283 ดวง ถูกส่งขึ้นสู่ #ห้วงอวกาศ นับว่าเป็นปีที่มีการส่งดาวเทียมสูงที่สุดเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้ แต่อย่างไรก็ตามในปี 2564 นี้ ณ วันที่ 30 เมษายน 2564 มีดาวเทียมถูกส่งขึ้นสู่ห้วงอวกาศแล้วจำนวน 850 ดวง
.
สาเหตุหลักที่ทำให้ตัวเลขของจำนวนดาวเทียมเติบโตมากขนาดนี้ เนื่องมาจาก #ความต้องการข้อมูลจากดาวเทียมในอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งดาวเทียมแต่ละดวงจะถูกออกแบบให้ทำการเก็บข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป บางดวงออกแบบให้เก็บข้อมูลได้หลากหลาย บางดวงออกแบบสำหรับภารกิจเฉพาะด้าน
ข้อมูลต่อไปนี้เป็นข้อมูลดาวเทียมที่ยังใช้งานได้ปกติแบ่งตามประเภทของภารกิจ อ้างอิงจาก #UCS ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 ดังนี้
ดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร จำนวน 1,832 ดวง
ดาวเทียมเพื่อการสำรวจโลก จำนวน 906 ดวง
ดาวเทียมเพื่อการพัฒนาและสาธิต จำนวน 350 ดวง
ดาวเทียมเพื่อการนำทาง จำนวน 150 ดวง
ดาวเทียมเพื่อการศึกษาด้าน Space science and observation จำนวน 104 ดวง
ดาวเทียมเพื่อการศึกษาด้าน Earth Science จำนวน 20 ดวง
ดาวเทียมเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ จำนวน 10 ดวง
.
ส่วน 10 ประเทศอันดับแรกที่ครองอุตสาหกรรมดาวเทียม ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน รัสเซีย สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น อินเดีย สหภาพยุโรป แคนาดา เยอรมนี และลักเซมเบิร์ก
.
การเพิ่มขึ้นของจำนวนดาวเทียมในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาดาวเทียมที่มีขนาดเล็กกว่า CubeSat ส่งผลให้สามารถปล่อยดาวเทียมขนาดเล็กจำนวนมากได้พร้อมกันในการขนส่งสู่อวกาศแต่ละครั้ง ซึ่งก่อนหน้านี้การนำส่งดาวเทียมทำได้เพียงหนึ่งหรือสองดวงต่อครั้งเท่านั้น ด้วยข้อจำกัดของขนาดจรวดนำส่งและขนาดของดาวเทียม
.
อีกสาเหตุหนึ่งก็มาจากยอมรับศักยภาพของข้อมูลจากดาวเทียมที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในด้านภูมิสารสนเทศได้หลากหลาย อาทิ การเกษตร ความมั่นคงด้านอาหาร การพัฒนาเมืองและชนบท สุขภาพ การจัดการสาธารณะ พลังงานและสิ่งแวดล้อม การขนส่งทางน้ำ การจัดการภัยพิบัติ และการศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น
.
ปัจจัยการพัฒนาอื่นๆ ที่ทำให้จำนวนการดาวเทียมเพิ่มขึ้น คือ การแข่งขันการให้บริการผ่านดาวเทียม โดยเฉพาะกลุ่มดาวเทียม SpaceX Starlink ซึ่งในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 บริษัท SpaceX ได้ส่งดาวเทียม Starlink จำนวน 172 ดวงด้วยการขนส่งสู่อวกาศจำนน 3 ครั้ง ทำให้ปัจจุบันมีกลุ่มดาวเทียม Starlink มากกว่า 1,600 ดวง โคจรที่ความสูงประมาณ 550 กิโลเมตรเหมือนพื้นโลก ในขณะที่บริษัท OneWeb ของรัฐบาลสหราชอาณาจักรได้ปล่อยดาวเทียมไปแล้วจำนวน 72 ดวงในช่วงต้นปี 2564 ที่ผ่านมา
.
นอกจากนี้ยังมีบริษัทอื่นๆ เช่น Kuiper (บริษัทในเครือของ Amazon) และ Lightspeed จากบริษัท Telesat ของแคนาดาที่กำลังวางแผนที่จะเปิดตัวกลุ่มดาวเทียมให้บริการอินเทอร์เน็ตที่มีคาดว่าจะมีจำนวนดาวเทียมตั้งแต่หลักร้อยถึงสองสามพันดวงในอนาคตอันใกล้นี้
.
ตัวเลขของจำนวนดาวเทียมที่กล่าวมาข้างต้น หากฟังผิวเผินก็ดูน่าตื่นเต้นกับพัฒนาการของเทคโนโลยีอวกาศในปัจจุบัน แต่ทว่าความกังวลเกี่ยวกับการจัดการจราจรในอวกาศและเศษซากอวกาศก็เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน
.
อ้างอิงจาก NASA ระบุว่าปัจจุบันมีขยะอวกาศหลายล้านชิ้นล่องลอยอยู่ในระดับวงโคจรต่ำ (Low earth orbit) หรือความสูงน้อยกว่า 1,000 กิโลเมตรเหนือระดับพื้นโลก ซึ่งประกอบด้วยยานอวกาศ ชิ้นส่วนขนาดเล็กจากยานอวกาศ ชิ้นส่วนของจรวดและดาวเทียมที่ปลดระวางหรือสูญหาย รวมถึงวัตถุที่เกิดจากการระเบิดในอวกาศ
.
"ขยะอวกาศ" ส่วนใหญ่กำลังล่องลอยด้วยความเร็วสูงมากในอวกาศ ทำให้มีโอกาสสูงเช่นกันที่จะเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด ยิ่งจะส่งผลให้เกิดขยะอวกาศอีกจำนวนมากที่เป็นอันตราย อาทิ การรบกวนช่องสัญญาณของดาวเทียมที่ใช้งานอยู่ใกล้เคียง การส่งสัญญาณไปรบกวนการสื่อสารระหว่างนักบินอวกาศและสถานีอวกาศอวกาศนานาชาติ และสุดท้ายขยะอวกาศอาจจะสร้างความเสียหายเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่นำไปสู่ภัยพิบัติขนาดใหญ่ได้ อีกทั้งขยะอวกาศยังเป็นภัยคุกคามต่อความปลอดภัยของผู้คนและทรัพย์สินทั้งบนโลกและในอวกาศ รวมถึงการปฏิบัติสำรวจอวกาศในอนาคตอีกด้วย
.
นี่คือเหตุผลที่การจัดการการจราจรในอวกาศและการตรวจสอบเศษซากขยะอวกาศเป็นความท้าทายระดับโลกที่ต้องแก้ไขทันที Inter-Agency Space Debris Coordination Committee (IADC) ซึ่งเป็นเวทีระดับนานาชาติของหน่วยงานภาครัฐสำหรับการประสานงานเกี่ยวกับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของเศษซากขยะอวกาศทั้งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์และธรรมชาติในอวกาศ ได้ให้แนวทางในการลดเศษซากและสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน เมื่อเร็วๆ นี้ ESA ก็ได้เปิดตัวโครงการสร้างดาวเทียม ClearSpace-1 ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจแรกของโลกในการกำจัดเศษซากอวกาศ ซึ่งมีกำหนดส่งขึ้นสู่ห้วงอวกาศในปี พ.ศ. 2568
.
โลกในอนาคตที่มีความต้องการการรับส่งข้อมูลขนาดใหญ่ขึ้น ที่รวดเร็วขึ้นและเข้าถึงทุกๆพื้นที่บนโลก ซึ่งแน่นอนว่าจำเป็นต้องใช้แบนด์วิดท์และครอบคลุมพื้นที่ได้มากขึ้น เทคโนโลยีอวกาศจึงเป็นตัวเลือกหลายประเทศได้เริ่มลงทุนพัฒนาให้เห็นแล้ว ควบคู่ไปกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีล้ำยุคในปัจจุบันจะทำให้อุตสาหกรรมอวกาศ โดยเฉพาะดาวเทียมเชิงพาณิชย์จะเฟื่องฟูในปีต่อๆไป และแน่นอนว่าเราคงต้องเริ่มตระหนักเกี่ยวกับปัญหาจากขยะอวกาศก่อนที่จะกลายเป็นปัญหาที่ควบคุมไม่อยู่
.
อ้างอิง
Nibedita Mohanta. How many satellites are orbiting the Earth in 2021?. Published on 28 May 2021. Accessed via https://www.geospatialworld.net
#จิสด้าก้าวสู่ปีที่21 #จิสด้า #GISTDA #อวกาศ #วิวัฒนาการ #เทคโนโลยีอวกาศ #ดาวเทียม #ขยะอวกาศ #จำนวนดาวเทียม #อินเทอร์เน็ตดาวเทียม #ClearSpace
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น