วันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2566

🍅 BRICS>>>>>>>BIGGEST..!! “เชื่อว่าทุกบริบทของผู้นำจีน นำไปสู่ความร่วมมือใน BRICS เพื่อสมานฉันท์ปรองดอง และนำไปสู่ สันติภาพ สันติสุข ของชาวโลก209”

 See >>>

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0xB2jpPx49KSYbXav5WnS1vx3PhYkrhqTA6AgFWXi1GhGXd1e6vvoJS2rqbuQNBJ9l&id=100001757048699&mibextid=Nif5oz



BRICS>>>>>>>BIGGEST..!!


“เชื่อว่าทุกบริบทของผู้นำจีน นำไปสู่ความร่วมมือใน BRICS เพื่อสมานฉันท์ปรองดอง และนำไปสู่ สันติภาพ สันติสุข ของชาวโลก209”

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>


#สีจิ้นผิง จัด #ดอกบัว 🪷กลางเวทีเจรจา แอนโทนี บลิงเคน รมต.ต่างประเทศสหรัฐ สะท้อนภูมิปัญญาอันลึกซึ้งกว่าพันปี #เกิดแต่ตม แต่งดงามบริสุทธิ์ ยืนหยัดชูช่อไม่ยอมถูกแปดเปื้อน


ทางการจีนตั้งใจจัดวางดอกบัวบานสะพรั่ง กลางโต๊ะเจรจาระหว่างประธานาธิบดีสีจิ้นผิงกับนายแอนโทนี บลิงเคน ไม่ใช่แค่เป็นดอกไม้ประดับเพื่อความสวยงามเท่านั้น แต่ดอกบัวในภาษาจีนเรียกว่า “เหอฮวา” 荷花 ซึ่งพ้องเสียงกับคำว่า “ร่วมมือ” (เหอจั้ว 合作) “สันติภาพ” (เหอผิง 和平) สมานฉันท์ (เหอเสีย 和谐) 


ดอกบัวยังเรียกอย่างอย่างหนึ่งได้ว่า “เหลียนฮวา” 莲花 ซึ่งก็พ้องเสียงกับคำว่า สัมพันธ์, ติดต่อ 


คำว่า “เหอ” และ “เหลียน” ซึ่งพ้องเสียงกับดอกบัวในภาษาจีน มีความหมายที่ดี  ยิ่งเมื่อนำคำว่าทั้ง 2 มารวมกัน คือ "เหลียนเหอ" 联合🪷 จะหมายถึง "ร่วมแรงร่วมใจ" สะท้อนถึงเจตนารมณ์ของจีนที่มีต่อสหรัฐ 

🪷


นอกจากนี้ ยังมีผู้อ้างถึงบทกวีชื่อดังของ โจวตุนอี๋ #周敦颐  นักปราชญ์สมัยราวงศ์ซ่งเหนือ ผู้ชื่นชมดอกบัวว่า เป็นวิญญูชนแห่งดอกไม้


โจวตุนอี๋กล่าวไว้ในบทกวีชมดอกบัว  #爱莲说 ว่า ดอกบัวเกิดแต่โคลนตมแต่กลับไม่แปดเปื้อน ชูช่ออยู่กลางน้ำอย่างสงบเสงี่ยม ก้านบัวยืดตรงไม่คดโค้งไม่แตกกิ่งก้าน เหมือนคนที่ยืนหยัดไม่บิดพลิ้ว ดอกบัวมีกลิ่นหอมสดชื่น งดงามบริสุทธิ์ เราชื่นชมความงามของดอกบัวได้แม้อยู่ไกล ๆ  แต่ถ้าจะท้าทายด้วยการเด็ดถอน ไม่ใช่ทำได้ง่าย ๆ 

🪷


นี่คือการใช้ดอกบัว เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนบุคลิกของจีน ด้วยอารยธรรมที่ยาวนานกว่า 5,000 ปี เป็นสิ่งที่วิญญูชนที่เป็น "บัวพ้นน้ำ" สามารถเข้าใจได้....แต่ไม่รู้ว่า รัฐมนตรีจากสหรัฐ ซึ่งเพิ่งจะก่อร่างสร้างชาติมาเพียงแค่ 200 กว่าปีจะเข้าใจหรือไม่


ขอบคุณ:ที่มาข้อมูล

ขอบคุณ:อาจารย์กรณรัฎฐ์ ทวัวัฒน์ธน

#Ttango17Q

24 June 2Q23

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น